วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 16:37 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1434
คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1434

คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1434

คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี ฮ.ศ.1434 (เล่ม 16)

คำนำ 

                ฝ่ายเผยแผ่ศาสนา ของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ได้จัดทำบทคุตบะห์ (บทธรรมเทศนา) ขึ้น เนื่องในวันอีฎิ้ลฟิตริ (1 เชาวาล ฮ.ศ. 1434) เพื่อให้คอเต็บหรือผู้ทำหน้าที่ในการแสดงธรรม (คุตบะห์) ใช้บทนี้ ให้ผู้ที่มาปฏิบัติศาสนกิจในวันอีดิ้ลฟิตริ (1 เชาวาล ฮ.ศ. 1434) ได้เข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องต่อไป

                หากมีข้อติชม หรือคำแนะนำใดๆ ในบทคุตบะห์ที่ฝ่ายเผยแผ่ศาสนา ได้จัดทำและมอบให้กับมัสยิด ขอได้โปรดติดต่อได้ที่ ฝ่ายเผยแผ่ศาสนา สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0-2949-4184, 0-2949-4259, 0-2949-4330, 0-2989-7108

                ในนามของคณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแผ่ศาสนา ของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ขออวยพรให้พี่น้องมุสลิมทุกท่าน จงมีความสุข ความเจริญ มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงโดยทั่วกัน     อามีน

นายอาลี กองเป็ง
ประธานฝ่ายเผยแผ่ศาสนา
ของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร
24 กรกฎาคม 2556

 

คุตบะห์อีดิ้ลฟิตรี
خطبة عيد الفطر

คุตบะห์ที่ 1

(اَللهُ أَكْبَرُ9 ครั้ง)

اَللهُ أَكْبَرُ كَبِيْرًا ، وَاْلحَمْدُ لِلَّهِ كَثِيْرًا ، وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيْلاً ، سُبْحَانَ اللهِ وَاْلحَمْدُ لِلَّهِ وَلاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ ، وَاللهُ أَكْبَرُ اللهُ أكبَرُ وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ ، اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الْمُتَجَلِّيْ بِرَحْمَتِهِ عَلَى عِبَادِهِ ، اَلْقَرِيْبِ مِنْ أَهْلِ مَحَبتِهِ وَوِدَادِهِ ، اَلْقَامِعِ مَنْ هَامَ فِيْ مَيْدَانِ عُتُوِّهِ وَعِنَادِهِ ، اَلْمُعِيْدِ السُّرُوْرِ عَلَى أَهْلِ اْلإِيْمَانِ وَاْلإِسْلاَمِ ، وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ وَيُعْطِيْ كُلَّ سَائِلٍ مَاسَأَلَ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ رَغِبَ فِي الطَّاعَةِ وَحَذَّرَ مِنَ الْكَسَلِ . اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ طَيِّبِ الْقُلُوْبِ وَالْعِلَلِ ، وَعَلىَ آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الْمُخْلِصِيْنَ لِلَّهِ فِي الصِّيَامِ وَالْقِيَامِ . 

    أَمَّا بَعْدُ : فَياَعِبَادَ اللهِ أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّ لاً بِتَقْوَى اللهِ وَطَاعَتِهِ ،  وَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالىَ فِيْ كِتَابِهِ : أَعُوْذُ باِللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ  { كُلُّ مَنْ عَلَيْهَا فَانٍ وَيَبْقَى وَجْهُ رَبِّكَ ذُوا الْجلاَلِ وَاْلاِكْرَامِ }

اَللهُ أَكْبَرُ .  اَللهُ أَكْبَرُ .  اَللهُ أَكْبَرُ .  وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ

                ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประทานเนียะอมัตแก่ชาวมุสลิม ให้ได้มีโอกาสถือศีลอดในเดือนรอมฎอนตลอดทั้งเดือน หลังจากนั้น มุสลิมทั้งหลาย ยังได้มีโอกาสเดินทางไปละหมาด ไม่ว่าจะเป็นที่มัสญิดหรือมุซอลลา โดยส่งเสียงก้องกังวาน ด้วยคำว่า อั้ลลอฮุอักบัร จากหัวใจที่เต็มเปลี่ยมไปด้วยความดีใจและภาคภูมิใจ ลิ้นของพวกเขาชุ่มฉ่ำไปด้วยการซิกรุ้ลลอฮ์ และขอดุอาอฺให้พระองค์ทรงตอบรับอะม้าลของพวกเขา พร้อมด้วยการขออภัยโทษจากความผิดพลาดที่ผ่านมา วันอีด คือ วันและเวลาที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประทานความดีมากมาย พร้อมด้วยบะรอกัต เราะฮ์มัต และการตอบรับการขอดุอาอฺของมุสลิมีน ซึ่งมีบันทึกของท่าน ฏอบรอนีย์ จากท่านอินุอับบาส โดยเป็นหะดีษมัรฟัวะอระบุว่า

  إِذَا كَانَ يَوْمُ عِيْدِ الْفِطْرِ

ความว่า “เมื่อวันอีดิ้ลฟิฏริได้ปรากฏขึ้น”

هَبِطَتِ الْمَلاَئِكَةُ عَلَى أَفْوَاهِ السِّكَكِ

 ความว่า “เหล่ามาลาอิกะฮ์ได้ลงมาอยู่ตามช่องทางเดินต่างๆ”

يُنَادُوْنَ بِصَوْتٍ تَسْمَعُهُ الْخَلاَئِقُ إِلاَّ الْجِنَّ وَ اْلإِنْسَ

ความว่า “เขาทั้งหลายจะส่งเสียงร้องเรียก ซึ่งสิ่งถูกสร้างทั้งหมดจะได้ยินเสียงนั้น ยกเว้นบรรดาญินและมนุษย์”

يَا أُمَّةَ مُحَمَّدٍ أُخْرُجُوْا إِلَى رَبٍّ كَرِيْمٍ يُعْطِي الْجَزِيْلَ

ความว่า “โอ้ประชาชาติของมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) ท่านทั้งหลายจงออกมาสู่พระเจ้า ผู้ทรงใจบุญ พระองค์จะทรงมอบให้อย่างมากมาย”

فَإِذَا بَرَزُوْا إِلَى مُصَلاَّهُمْ

ความว่า “ดังนั้นเมื่อมุสลิมทั้งหลายปรากฏตัวยังที่ทำการละหมาดของพวกเขา”

قَالَ اللهُ تَعَالَى :  يَا مَلاَ ئِكَتِيْ مَا جَزَاءُ اْلأَجِيْرِ إِذَا عَمِلَ عَمَلَهُ

 ความว่า “อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงกล่าวว่า โอ้เหล่ามาลาอิกะฮ์ อะไรคือค่าตอบแทนของลูกจ้างเมื่อเขาทำภารกิจเสร็จแล้ว”

قَالُوْا  : إِلَهَنَا وَسَيِّدَنَا أَنْ تُوَفِّيَهُ أَ جْرَهُ

          ความว่า “เหล่ามะลาอิกะอ์ทูลตอบว่า โอ้พระเจ้าและนายของพวกเรา โปรดให้ค่าจ้างแก่เขาอย่างสมบูรณ์ด้วยเถิด”

قَالَ  : فَإِنِّيْ جَعَلْتُ ثَوَابَهُمْ مِنْ صِيَامِهِمْ وَقِيَامِهِمْ مَغْفِرَتِيْ وَرِضْوَانِيْ

ความว่า “อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกล่าวว่า แท้จริงเราได้ทำให้ผลบุญของพวกเขาจากการถือศีลอดและการละหมาดของพวกเขา เป็นการอภัยโทษจากเรา และเป็นความพึงพอใจของเรา”

وَعِزَّتِيْ لاَيَسْأَلُوْنِيْ فِيْ جَمْعِهِمْ هَذَا لِلآخِرَةِ شَيْئًا إِلاَّ أَعْطَيْتُهُمْ

ความว่า “และด้วยเกียรติแห่งเรา ไม่ว่าพวกเขาจะขอสิ่งใดต่อเรา ณ การรวมตัวของพวกเขานี้เพื่ออาคิเราะฮ์ เว้นแต่เราจะได้ให้ตามที่พวกเขาขอ”

وَلاَ لِدُنْيَا هُمْ إِلاَّ نَظَرْتُ لَهُمْ

ความว่า “และไม่ว่าพวกเขาจะขอเพื่อดุนยาของพวกเขา เว้นแต่เราได้มอง (มอบให้ตามคำขอ) แก่พวกเขาแล้ว”

إِنْصَرِفُوْا مَغْفُوْرًا لَكُمْ

ความว่า         “ท่านทั้งหลายจงแยกย้ายกลับในสภาพเป็นผู้ได้รับการอภัยโทษแก่พวกท่านเถิด”

قَالَ مُوَرِّقُ اْلعَجَلِيْ  :  فَيَرْجِعُ قَوْمٌ مِنَ الْمُصَلَّى كَمَا وَلَدَتْكُمْ أُمَّهَاتُكُمْ

ความว่า “ท่านมุวัรริก อั้ลอะญะลีย์ กล่าวว่า “ดังนั้นพวกเขาก็จะกลับจากที่ทำการละหมาดในสภาพที่สะอาดบริสุทธิ์จากบาป เสมือนบุตรที่คลอดจากครรภ์มารดา”

فَهُوَ يَوْمُ الْجَائِزَةِ

ความว่า “มันคือวันแห่งการตอบแทนด้วยรางวัล”

وُيسَمَّى ذَلِكَ الْيَوْمُ فِيْ السَّمَاءِ يَوْمَ الْجَائِزَةِ

ความว่า “และถูกขนานนามวันดังกล่าวนี้ในท้องฟ้าว่าเยามุ้ลญาอิซะฮ์ (วันแห่งการตอบแทนรางวัล)”

اَللهُ أَكْبَرُ ، اَللهُ أَكْبَرُ، اَللهُ أَكْبَرُ، وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ

                ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก ขณะที่มีคนหนึ่งปฏิบัติไม่ดีต่อท่าน ท่านจงรำลึกอยู่เสมอว่าท่านมีอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงเป็นผู้อำนาจสูงสุดในการคุ้มครองท่าน หากท่านอดทนและให้อภัย พระองค์จะทรงเปลี่ยนให้แก่ท่านด้วยความดีอันมากมาย ซึ่งความดีเหล่านั้นมันจะเพิ่มน้ำหนักของตาชั่งในวันกิยามะฮ์ ดังนั้นท่านจงนึกอยู่เสมอว่า ฉันจะไม่ทำลายความดีของฉันด้วยการมีอคติและอาฆาตแค้นอีกต่อไปเพื่อความสุขของฉันทั้งดุนยาและ    อาคิเราะฮ์   

                ท่านชัยค์อัสซะอดีย์السَّعْدِيْ  رَحِمَهُ اللهُ  ได้ให้น่าซีหะฮ์เตือนใจว่า เป็นส่วนหนึ่งจากภารกิจที่ทรงคุณค่า คือให้ท่านเข้าใจว่ามนุษย์คนใดที่เขาสร้างความเดือดร้อนและอันตรายแก่ท่านโดยเฉพาะเรื่องของวาจาและคำพูดที่ให้ร้ายมันจะไม่เกิดอันตรายแก่ท่าน  แต่มันคืออันตรายแก่ตัวของเขาเอง  นอกจากท่านให้ความสำคัญกับมันจนกระทั้งความรู้สึกในทางลบติดในจิตใจและในสมองของท่าน  นั้นแหละคืออันตรายที่ประสพแก่ท่าน เฉกเช่นอันตรายที่เกิดแก่เขา ถ้าท่านไม่ใส่ใจก็จะไม่เกิดอันตรายแก่ท่าน จงดำเนินชีวิตของท่านด้วยหัวใจที่สะอาดและบริสุทธิ์ที่จะนำท่านเข้าสรวงสวรรค์ ดังเช่นซ่อฮาบะฮ์ท่านหนึ่งซึ่งท่านผู้นี้มิได้มากมายนักในภาคปฏิบัติ (عَمَلْ)

โดยท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวรับรองว่า

يَطْلُعُ عَلَيْكُمُ اْلآنَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ  .  رواه أحمد

ความว่า “จะมีชายผู้หนึ่งจากชาวสวรรค์จะมาพบพวกท่านในขณะนี้ หลายคนจากซ่อฮาบะฮ์ได้ถามชายคนนั้นถึงสาเหตุของการเป็นชาวสวรรค์”

                เขาทั้งๆ ที่เขามิได้ปฏิบัติมากมายเลย เขาจึงตอบว่า ฉันไม่เคยมีความคิดและหัวใจที่จะทุจริตและอธรรมต่อมุสลิมคนใดเลย และในหัวใจของฉันไม่คิดที่จะอิจฉาใครเช่นเดียวกัน ท่านอับดุลเลาะฮ์ กล่าวว่า เหตุนี้เองที่นำท่านไปสู่สวรรค์ ซึ่งพวกเราไม่มีความสามารถ

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ، وَلِلَّهِ الْحَمْدُ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก ท่านนบีมุฮำหมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

أَلاَ وَإِنَّ فِي الْجَسَدِ مُضْغَةٌ إِذَا صَلُحَتْ صَلُحَ الْجَسَدُ كُلُّهُ وَإِذَا فَسَدَتْ فَسَدَ الْجَسَدُ كُلُّهُ أَلاَ وَهِيَ الْقَلْبُ . رواه البخاري عن أبي عبد الله النعمان بن بشير

ความว่า “โปรดได้ทราบเถิดว่า แท้จริงในเรือนร่างนั้นมีเลือดอยู่ก้อนหนึ่ง หากเลือดก้อนนี้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งหมดเรือนร่างก็ย่อมบริสุทธิ์ไปด้วย และหากมันเสียทั้งหมดเรือนร่างก็ย่อมเสียหายไปด้วย พึงทรายเถิดว่า เลือดก้อนนั้นคือหัวใจ”

                มุสลิมที่สะอาดคือผู้ที่สะอาดมาจากภายใน เขาต้องดูแลและรักษาใจของเขาให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ หากมีโรคทางใจเขาต้องรักษาและขจัดให้มดไป ก่อนที่โรคนั้นจะบั่นทอนและลบล้างความดี เช่น โรคที่มีชื่อว่า โรคชิริก โรคหะซัด (อิจฉาริษยา) โรคฮิกดะฮ์ (อาฆาตแค้น) และอีกหลายโรคที่ก่อเกิดในหัวใจ และแสดงออกมาทางอวัยวะต่างของร่างกาย เช่น ทางวาจา มือ เท้า เป็นต้น จนกระทั้งทำลายพี่น้องมุสลิมด้วยกันตลอดจน ถึงขั้นทำลายสังคมเลยทีเดียว ทั้งๆ ที่รู้ดีอยู่แล้วว่า สังคมดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ก็ช่วยกันทำ ยิ่งกว่านั้น เขากับกลายสภาพเป็นคนที่ล้มละลายในวันกิยามะฮ์ อะม้าลที่สะสมมาต้องมลายสิ้น ท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้เตือนถึงอันตรายดังกล่าวว่า

إِنَّ الْمُفْلِسَ مِنْ أُمَّتِيْ مَنْ يَأْتِيْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِصَلاَةٍ وَصِيَامٍ وَزَكَاةٍ وَيَأْتِيْ قَدْ شَتَمَ هَذَا وَقَذَفَ هَذَا وَ أَكَلَ مَالَ هَذَا وَسَفَكَ دَمَ هَذَا وَضَرَبَ هَذَا  فَيُعْطَى هَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ وَهَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ حَتَّى إِنْ فُنِيَتْ حَسَنَاتُهُ قَبْلَ أَنْ يَقْضِيَ مَا عَلَيْهِ أُخِذَ مِنْ خَطَايَاهُمْ فَطُرِحَ عَلَيْهِ ثُمَّ طُرِحَ فِي النَّارِ  . رواه مسلم عن أبي هريرة   

ความว่า “แท้จริงผู้ล้มละลายจากอุมมะฮ์ของฉันคือ ผู้ที่จะมาในวันกิยามะฮ์พร้อมด้วยละหมาด ถือศีลอดและซะกาตของเขา และจะมาในสภาพที่ความจริงเขาผู้นี้ได้ด่าคนนั้น  ได้ใส่ร้ายคนนี้ กินทรัพย์คนนั้น หลั่งเลือดคนนี้และตีคนนั้น ดังนั้นจะถูกนำความดีของเขาที่ทำไว้ไปให้คนนั้น และไปให้คนนี้  จนกระทั่งความดีที่ทำไว้ไม่หลงเหลืออยู่เลยก่อนที่เขาจะชดใช้กับสิ่งที่เขากระทำไว้เขาจึงต้องรับความผิดของผู้ที่เขาได้ละเมิดไว้มาโยนใส่ตัวเขาเองแล้วต่อมาเขาต้องถูกโยนลงนรก”

اَللهُ أَكْبَرُ ،  اللهُ أَكْبَرُ  ، اللهُ أَكْبَرُ ،  وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกล่าวว่า

إِنَّمَا الْمُؤْمِنُوْنَ إِخْوَةٌ

ความว่า “แท้จริงบรรดามุฮ์มินเป็นพี่น้องกัน”

                ความรักที่มีให้กัน ความอดทนซึ่งกันและกัน และการอภัยต่อกัน เป็นลักษณะของบรรดาผู้ที่มีอีหม่าน มีพี่น้องผู้ชายสองคนที่ร่วมสายโลหิตเดียวกัน ทั้งสองจะหยอกล้อกันเป็นประจำ  อยู่มาวันหนึ่ง ผู้เป็นพี่ชายได้ตบตีน้องชาย น้องชายเสียใจและร้องให้ ด้วยความเสียใจ เขาได้เขียนบนพื้นทรายว่า พี่ได้ตบตีฉัน เวลาได้ผ่านไปหลายวัน ทั้งสองชวนกันไปว่ายน้ำที่สระน้ำข้างบ้าน ผู้เป็นน้องชายเกิดเป็นตะคิวเกือบจะจมน้ำ ผู้เป็นพี่ชายได้ช่วยเหลือน้องชายจากการจมน้ำ ผู้เป็นน้องชาย ได้เขียนบนโขดหินว่า พี่ชายได้ช่วยฉันให้รอดพ้นจากความตาย มาวันหนึ่ง พี่ชายถามน้องชายว่า  วันที่พี่ตบตีเจ้า เจ้าเขียนมันไว้บนทราย และวันที่พี่ช่วยเจ้าจากการจมน้ำ เจ้าแกะสะลักไว้บนโขดหิน น้องชายกล่าวตอบพี่ชายว่า ขณะพี่ตีฉันเพื่อเป็นการลงโทษ ฉันจะเขียนมันไว้บนทราย เมื่อลมพัดมาก็จะลบรอยที่เขียนไว้ ฉันก็จะลืมมันไป แต่ขณะที่พี่ช่วยชีวิตฉัน ฉันจะเขียนมันไว้บนโขดหิน เพื่อมันจะเป็นความจดจำที่ดีสำหรับฉันตลอดชีวิต และลบความอาฆาตแค้นจากจิตใจฉัน

                ท่านนบี (ศ็อลฯ) เป็นตัวอย่างในลักษณะของความกรุณาและให้อภัย ซึ่งท่านเข้าพบชนเผ่าต่างๆ โดยการเชิญชวนและเรียกร้องคนเหล่านั้นเข้าสู่หนทางที่นำพาซึ่งความเมตตาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) บางคนแสดงความจาบจ้วงและก้าวร้าวแก่ท่านนบี ขณะนั้นบรรดามาลาอิกะฮ์แห่งภูผาได้กล่าวสลามแก่ท่าน พร้อมกล่าวว่า หากท่านปรารถนาเราจะให้ภูเขาสองลูกที่รายล้อมมหานครมักกะฮ์ทำลายพวกเขา แต่ท่านนบี (ศ็อลฯ) กล่าวตอบแก่มาลาอิกะฮ์ด้วยวาจาแห่งการเป็นศาสดาที่เปลี่ยมล้นไปด้วยความเมตาและให้อภัย ว่า

بَلْ أَرْجُوْ أَنْ يُخْرِجَ اللهُ مِنْ أَصْلاَبِهِمْ مَنْ يَعْبُدُ اللهَ وَحْدَهُ لاَيُشْرِكُ بِهِ شَيْئًا .

رواه البخاري ومسلم

ความว่า “อย่ากระนั้นเลย เพียงแต่ฉันหวังจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงให้ผู้ที่กราบไหว้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) องค์เดียว และไม่สร้างภาคีต่อพระองค์ ที่ออกจากกระดูกสันหลังของพวกเขา (ลูกหลานที่ศรัทธา)”

اَللهُ أَكْبَرُ  ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ

                ท่านพี่น้องที่รัก ปัจจัยที่นำพาท่านสู่การไม่ถือสาและการให้อภัย คือ ความเข้าใจที่แท้จริงว่าสิทธิของท่านถูกเก็บรักษาไว้ ณ ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) แต่ละคนจะได้รับความดีของเขาในวันกิยามะฮ์โดยไม่ต้องลำบากและเหน็ดเหนื่อย ดั่งชาวสลับ (السَّلَفْ) ที่ได้ปฏิบัติขณะที่ทราบข่าวว่ามีชายผู้หนึ่งได้นินทาและให้ร้ายเขา โดยเขาได้นำของขวัญ  (هَدِيَّةُ) ที่สวยงามและเหมาะสมและเดินทางไป เพื่อมอบของขวัญชิ้นนั้นด้วยตัวเอง ชายที่นินทาให้ร้ายจึงกล่าวถามว่า เนื่องในโอกาสอันใดท่านจึงได้นำของชิ้นนี้มามอบให้แก่ข้า ชายผู้มอบของขวัญกล่าวว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

مَنْ صَنَعَ لَكُمْ مَعْرُوْفًا فَكَافِئُوْهُ  .  رواه ابوداود     

ความว่า “ใครก็ตามที่สร้างความดีให้แก่พวกท่าน พวกท่านจงตอบแทนรางวัลแก่เขา”

اَللهُ أَكْبَرُ  ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ

                ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก ขณะที่มีคนใดคนหนึ่งทำไม่ดีต่อท่าน ท่านจงรำลึกอยู่เสมอว่าท่านมีอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงเป็นผู้อำนาจสูงสุดในการคุ้มครองท่าน หากท่านอดทนและให้อภัย พระองค์จะทรงเปลี่ยนให้แก่ท่านเป็นความดีอันมากมาย ซึ่งความดีเหล่านั้นจะเพิ่มน้ำหนักของตาชั่งในวันกิยามะฮ์ ดังนั้นท่านจงนึกอยู่เสมอว่า ฉันจะไม่ทำลายความดีของฉันด้วยการมีหัวใจที่อคติและอาฆาตแค้นอีกต่อไป เพื่อความสุขของฉันทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์

اَللهُ أَكْبَرُ  ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  اَللهُ أَكْبَرُ ،  وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

                นางมาซีเตาะห์ ( مَاشِطَةُ ) ชื่อของหญิงคนหนึ่งที่มีความอีหม่าน เธอดำรงชีวิตกับครอบครัวของเธอภายใต้การปกครองของฟาโรห์ ซึ่งอ้างตัวเป็นพระเจ้า สามีเธอเป็นคนใกล้ชิดของฟาโรห์ (ฟิรเอาน์) แต่เธอเป็นคนรับใช้และผู้ดูแลบุตรสาวของฟาโรห์ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงประทานความแน่น แฟ้นแห่งความศรัทธาเหนือสามีของเธอและตัวของเธอ จนกระทั่งฟาโรห์ทราบว่าสามีเธออีหม่านต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) จึงได้ฆ่าสามีของเธอ ส่วนตัวเธอก็ยังคงทำหน้าที่เป็นคนรับใช้และหวีผมให้แก่บุตรสาวของฟาโรห์ พร้อมยังเลี้ยงดูลูกของเธออีก 5 คน เธอได้นำอาหารมาให้ลูกของเธอ เหมือนกับแม่นกที่ให้อาหารลูกๆ ที่อยู่ในรัง ในขณะที่เธอหวีผมให้แก่ลูกสาวของฟาโรห์ ในวันหนึ่งบังเอิญหวีหลุดจากมือเธอ เธอก็กล่าวว่า

                บิสมิ้ลละห์ ( بِسْمِ اللهِ )  ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ลูกสาวฟาโรห์ ๆ ได้กล่าวว่า บิดาของข้าคือพระเจ้า มาซีเตาะห์ ส่งเสียงร้องว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือพระเจ้าของข้าพเจ้าและของเธอ และเป็นพระเจ้าของพ่อของเธอ ลูกสาวฟาโรห์เกิดความไม่พอใจที่มาซีเตาะห์กราบไหว้อื่นจากบิดาของเธอ เธอนำเรื่องดังกล่าวไปทูลต่อบิดาของเธอ ฟาโรห์เกิดแปลกใจว่า ยังมีคนในพระราชวังที่กราบไหว้อื่นจากเขากระนั้นหรือ จึงให้ทหารไปนำมาซีเตาะห์มา และฟาโรห์ก็กล่าวแก่เธอว่า ใครคือพระเจ้าของเจ้า มาซีเตาะห์ตอบว่า พระเจ้าของข้าพเจ้าและของท่านคือ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และขู่บังคับให้มาซีเตาะห์ละทิ้งจากศาสนา และนำไปกักขังพร้อมกับลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี แต่ก็ไม่ทำให้เธอละทิ้งจากศาสนาของเธอ ฟาโรห์ ได้มีคำสั่งใช้ให้เหล่าทหารนำหม้อที่ทำจากทองเหลือง ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำมันตั้งบนกองไฟจนเดือดจัด และนำเธอมายืนอยู่ต่อหน้าหม้อน้ำมันที่เดือดนั้น มาซีเตาะห์เมื่อเธอแลเห็นการทรมานทำให้เธอยิ่งมั่นใจว่าเธอคือชีวิตเดียวที่ต้องจากไป และก็จะได้พบกับอัลลอฮ์ (ซ.บ) ความตายไม่ได้ทำให้เธอขาดอีหม่านเลย แต่กระนั้นฟาโรห์รู้ดีว่าสิ่งที่เธอรักมากที่สุดนั้นคือลูกๆ ของเธออีก 5 คน ซึ่งเป็นเด็กกำพร้าที่เธอต้องเลี้ยงดูอยู่ ความชั่วร้ายของฟาโรห์ทำให้ฟาโรห์ มีความปรารถนาเพิ่มการทารุณ ได้ใช้ให้ทหารไปนำลูกทั้ง 5 คน ของเธอมาด้วย น้ำตาของลูกกำพร้าทั้ง 5 คน ไหลรินและไม่ทราบว่าจะถูกลากไปไหน เมื่อลูกกำพร้าทั้ง 5 คน แลเห็นมารดาของพวกเขา ก็ได้เข้ามากอดเธอพร้อมกับสภาพที่น้ำตายังอาบแก้ม มาซีเตาะห์ก้มลงจูบและหอมลูกๆ ของเธอ พร้อมกับร้องไห้ เธอได้อุ้มลูกคนเล็กที่สุดไว้ในอ้อมอก และให้นมจากทรวงอกของเธอ เมื่อฟาโรห์เห็นสภาพดังกล่าว ได้ใช้ให้บรรดาทหารลากลูกของเธอคนโตสุด โยนลงไปไปหม้อน้ำมันที่เดือด เสียงเด็กร้องหาแม่และขอความช่วยเหลือ บรรดาทหารขอความเมตตาจากฟาโรห์ แต่ก็ไม่ได้รับความปราณีแม้แต่นิดเดียว ลูกของเธอที่เหลืออยู่ก็ส่งเสียงร้องพร้อมกับตีทหารด้วยกับสองมือเล็กๆ สภาพที่ทหารกระชากลูกๆ ของเธอ และเธอก็ยืนมองแบบอำลา อาลัย ลูกของเธอก็ถูกโยนไปในหม้อต้มน้ำมันที่เดือด เธอไม่สามารถขัดขวางได้ นอกเสียจากการร้องไห้และยืนมอง ส่วนลูกที่เหลืออยู่ของเธอก็เอามืออันเล็กปิดตา จนกระทั่งเนื้อในหม้อน้ำมันที่เดือดละลาย กระดูกที่มีสีขาวลอยขึ้นสู่ผิวน้ำมันที่เดือด ฟาโรห์ได้มองมายังมาซีเตาะห์และบังคับให้เธอปฏิเสธอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ความมีศรัทธามั่นทำให้เธอยืนหยัด ซึ่งสร้างความโกรธให้แก่ฟาโรห์เป็นทวีคูณ จึงได้ให้ทหารกระชากลูกคนที่สองรองลงมาออกจากอกแม่ ขณะเสียงของลูกเรียกหาแม่และขอความช่วยเหลือ จนกระทั่งถูกโยนลงไปในหม้อน้ำมันที่เดือด เธอยืนมองด้วยหัวใจที่สลาย กับเนื้อของลูกที่ละลาย กระดูกที่ขาวลอยขึ้นมาปะปนกับกระดูกของลูกชายคนโต มาซีเตาะห์ยังคงยืนหยัดต่อศาสนาของเธอ มั่นใจต่อการพบพระเจ้าของเธอ  ฟาโรห์ได้ทำเช่นนี้กับคนที่ 3 และ 4 แต่ก็ไม่ทำให้อีหม่านของมาซีเตาะห์ลดหย่อนไปเลย สายตาของเธอมองไปยังหม้อน้ำมันที่เดือดเนื้อหนังของลูกๆ ละลาย เสียงร้องไห้สิ้นสุด เธอเพียงแต่ได้กลิ่นของเนื้อและเห็นกระดูกเล็กๆ ลอยเหนือน้ำมันที่เดือด เธอคือแม่ที่มองกระดูกของลูกๆ ความจริงลูกๆ ของเธอจากเธอไปสู่อีกโลกหนึ่งแล้ว  เธอร้องไห้จนน้ำตาจะเป็นสายเลือด เพราะการจากไปของลูกๆ เธอสิ้นหวังแล้วจากการนำลูกสู่ทรวงอกของเธอ และให้นมลูกจากทรวงอกของเธอ  และเธอหมดหวังแล้วจากการอดหลับอดนอนเมื่อลูกๆ ของเธอตื่น และสิ้นหวังแล้วที่จะร้องไห้ จากการร้องไห้ของลูกๆ กี่คืนแล้วที่ลูกนอนบนตักของเธอ  เธอหมดหวังแล้วที่จะสวมใส่เสื้อผ้าให้แก่ลูกๆ และสิ้นหวังจากการปกป้องอันตรายแก่ลูกๆ  ขณะนั้นลูกเล็กของเธอกำลังดื่มนมจากทรวงอกของเธอ ทหารของฟาโรห์ที่ชั่วร้ายได้กระชากลูกของเธอออกจากทรวงอกเสียงร้องดังขึ้นจากเด็กที่ไร้เดียงสาและเสียงร้องไห้อันเจ็บปวดจากหญิงที่น่าสงสารที่หัวใจแตกสลาย อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้มีบัญชาให้เด็กน้อยพูดได้โดยเด็กน้อยกล่าวแก่ผู้เป็นแม่ไปว่า                         

 يَا اُمَّاهْ إِصْبِرِيْ فَإِنَّكِ عَلَى الْحَقِّ

ความว่า  “โอ้แม่สุดที่รัก เธอจงอดทนเถิด แท้จริงเธออยู่บนสัจธรรมแล้ว”

                เมื่อสิ้นสุดเสียงของลูกเธอ เธอก็เพียงแต่เห็นว่าลูกเธอคนเล็กถูกโยนไปในหม้อน้ำมันที่เดือดเหมือนกับพี่น้อง ทั้งๆ ที่ในปากของลูกคนเล็กยังมีน้ำนมของเธออยู่และในมือยังมีเส้นผมจากเส้นผมของเธอและคราบน้ำตาของลูกยังคงติดที่เสื้อผ้าของเธอ ลูกทั้ง 5 คนของเธอได้จากเธอไปแล้ว เธอผู้น่าสงสารมองไปยังกระดูกของลูกๆ ที่ลอยในน้ำมันประดุจดังวิญญาณของเธอที่กำลังจะล่องลอยออกจากเรือนร่าง เธอไม่สามารถแม้แต่เพียงเช็ดน้ำตาให้ลูกแม้แต่ครั้งเดียว ขณะเดียวกันเธอสามารถที่จะปกป้องลูกได้โดยการเพียงพูดเป็นประโยคสั้นเพียงประโยดเดียวให้ฟาโรห์ได้ยินว่า เธอปฏิเสธอัลลอฮ์ (ซ.บ.) แต่เธอก็ไม่กระทำ เพราะเธอทราบดีว่า ณ ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้นคือ ความดีตอบแทนและคงทนถาวร เวลาไม่ได้ผ่านไปนานเท่าใดเลย เหล่าทหารของฟาโรห์ได้จู่โจมและลากเธอเหมือนกับหมาบ้า เมื่อเหล่าทหารได้ลากเธอเพื่อจะโยนเธอไปในหม้อน้ำมันที่เดือด เธอได้มองไปยังกระดูกของลูกๆ ของเธอ เธอก็นึกได้ว่าเธอจะใช้ชีวิตพร้อมกับลูกๆ ของเธอในโลกหน้าแล้ว เธอได้เหลียวมองไปยังฟาโรห์ และกล่าวว่า

                “โอ้ฟาโรห์ ข้ามีความปรารถนาจากท่าน” ฟาโรห์ ได้ส่งเสียงพูดอันดังว่า  เธอต้องการอะไร?   มาซีเตาะห์ กล่าวว่า “ให้ท่านเอากระดูกของข้าพเจ้าและกระดูกของลูกๆ ข้าพเจ้ารวมกันและฝังมันในหลุมเดียวกัน” เธอปิดสองสายตาของเธอและถูกโยนลงไปในน้ำมันที่เดือด เนื้อหนังของเธอไหม้เกรียม กระดูกสีขาวลอยเหนือปากหม้อ ความยืนหยัดของเธอช่างยิ่งใหญ่เหลือเกินและผลบุญของเธอก็มากมาย

                ท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้แลเห็นในคืนอิสรออฺ เสี้ยวหนึ่งจากความผาสุกของนางมาซีเตาะห์ จึงได้เล่าให้แก่บรรดาซอฮาบะห์ฟังโดยมีบันทึกจากท่านบัยฮะกีย์ ว่า

لمَاَّ اُسْرِيَ بِيْ مَرَّتْ بِيْ رَائِحَةٌ طَيِّبَةٌ …  فَقُلْتُ : مَا هَذِهِ الرَّائِحَةُ ؟ فَقِيْلَ لِيْ : هَذِهِ مَاشِطَة بِنْتُ فِرْعَوْنَ وَ اَوْلاَدُ هَا …. 

ความว่า  “เมื่อข้าพเจ้าได้ถูกนำพา (อิสรออฺและเมี๊ยะรอจ) ได้มีกลิ่นหอมอบอวลผ่านมายังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ถามว่านี่คือกลิ่นอะไรกัน จึงมีคำตอบแก่ข้าพเจ้าว่า นี่คือกลิ่นหอมของนางมาซีเตาะห์และลูกๆ ของนาง”

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

                ท่านจงเหน็ดเหนื่อยและอดทนในวันนี้ ท่านจะได้พักผ่อนในวันพรุ่งนี้ แท้จริงชาวสวรรค์จะถูกกล่าวแก่พวกเขาในวันกิยามะห์ ว่า

سَلاَمٌ عَلَيْكُمْ بِمَا صَبَرْتُمْ فَنِعْمَ عُقْبَى الدَّارِ  .   سورة الرعد   الآية 24

ความว่า “ความศานติจงมีแด่พวกท่านเถิด เนื่องด้วยพวกท่านได้อดทน มันชั่งดีเสียนี้กระไรกับที่พำนักบั้นปลายนี้”

بَارَكَ اللهُ لِيْ وَلَكُمْ فِي الْقُرْآنِ الْكَرِيْمِ وَ نَفَعَنِي اللهُ وَإِياَّكُمْ بِمَا فِيْهِ مِنَ اْلآياَتِ وَالذِّكْرِ الْحَكِيْمِ أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمٍيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ  إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .

 

 คุตบะห์ที่ 2 

الْخُطْبَةُ الثَّانِيَّةُ

اللهُ أَكْبَرُ    (ครั้ง 7)

اللهُ أَكْبَرُ ، اللهُ أَكْبَرُ ، لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ ، اللهُ أَكْبَرُ ، اللهُ أَكْبَرُ . وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ ، اَلْحَمْدُ لِلَّهِ مُعِيْدِ الْجَمْعِ وَاْلأَعْيَادِ ، وَمُبِيْدِ اْلأُمَمِ وَاْلأَجْنَادِ  ، وَجَامِعِ النَّاسِ لِيَوْمٍ لاَ رَيْبَ فِيْهِ إِنَّ اللهَ لاَ يُخْلِفُ الْمِيْعَادَ ، وَ أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَشَرِيْكَ لَهْ وَلاَ نِدَّ وَلاَ مُضَا دَ ،  وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ الْمُفَضَّلُ عَلَى جَمِيْعِ الْعِبَادِ ،  صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ وَمَنْ تَبِعَهُمْ بِإِحْسَانٍ إِلَى يَوْمِ التَّنَادِ ، وَسَلَّمَ تَسْلِيْمًا

أَمَّا بَعْدُ : فَيَا أَيُّهَا النَّاسُ ، إِتَّقُوا اللهَ حَقَّ تُقَاتِهِ وَلاَتَمُوْتُنَّ إِلاَّ وَأَنْتُمْ مُسْلِمُوْنَ،  أَلاَ وَصَلُّوْا عَلَى خَيْرِ الْبَرِيَّةِ أَجْمَعِيْنَ ،  وَرَسُوْلِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ،  نَبِيِّ الْهُدَى وَالرَّسُوْلِ الْمُجْتَبَى ، فَقَدْ أَمَرَكُمْ مَوْلاَكُمْ بِذَلِكَ فِيْ مُحْكَمِ كِتَابِهِ ،  إِنَّ اللهَ وَمَلاَئِكَتَهُ يُصَلُّوْنَ عَلَى النَّبِىِّ يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا صَلُّوْا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا ، اَللَّهُمَّ اغْفِرْ لِلْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ اْلأَحْياَءِ مِنْهُمْ وَاْلأَمْوَاتِ بِرَحْمَتِكَ يَا أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ ، أَعَادَ اللهُ عَلَيْنَا مِنْ بَرَكَاتِ هَذَا الْعِيْدِ ، وَجَعَلَنَا فِي الْقِيَامَةِ مِنَ اْلآمِنِيْنَ ، وَحَشَرَنَا تَحْتَ لِوَاءِ سَيِّدِ الْمُرْسَلِيْنَ ، عَلَيْهِ الصَّلاَةُ مِنْ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ، اَللَّهُمَّ اجْعَلْ عِيْدَنَا فَوْزًا بِرِضَاكَ ياَ أَرْحَمَ الرَّاحِمِيْنَ ، اَللَّهُمَّ اجْعَلْ رَمَضَانَ رَاحِلاً بِذُنُوْبِنَا قَدْغَفَرْتَ فِيْهِ سَيِّئَاتِنَا ، وَرَفَعْتَ فِيْهِ دَرَجَاتِنَا ، رَبَّنَا تَقَبَّلْ مِنَّا إِنَّكَ أَنْتَ السَّمِيْعُ الْعَلِيْمُ ،  وَتُبْ عَلَيْنَا إِنَّكَ أَنْتَ التَّوَّابُ الرَّحِيْمُ ، وَاجْعَلْنَا مِنَ الَّذِيْنَ تَجْرِيْ مِنْ تَحْتِهِمُ اْلأَنْهَارُ فِيْ جَنَّاتِ النَّعِيْمِ .  دَعْوَاهُمْ فِيْهَا سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَتَحِيَّتُهُمْ فِيْهَا سَلاَمْ ،  وَآخِرُ دَعْوَاهُمْ أَنِ الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ اْلعَالَمِيْنَ .

 

คุตบะห์ฉบับไฟล์ PDF

  • ดาวน์โหลดไฟล์คุตบะห์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top