วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 21:13 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> ผู้ศรัทธากับการรังสรรค์สังคม
ผู้ศรัทธากับการรังสรรค์สังคม

ผู้ศรัทธากับการรังสรรค์สังคม

คุตบะฮ์วันศุกร์

เรื่อง ผู้ศรัทธากับการรังสรรค์สังคม

                                                                                                    อ.กอเซ็ม  มั่นคง

إِنَّ الْحَمْدَ ِللهِ نَحْمَدُهُ وَنَسْتَعِيْنُهُ وَنَسْتَغْفِرُهُ وَنَعُوْذُ بِاللهِ مِنْ شُرُوْرِ أَنْفُسِنَا وَسَيّئَاتِ أَعْمَالِنَا مَنْ يَهْدِهِ اللهُ فَلاَ مُضِلَّ لَهُ وَمَنْ يُضْلِلْهُ فَلاَ هَادِيَ لَهُ أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلهَ إِلاَّ اللهُ وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ وَمَنْ تَبِعَهُمْ بِإِحْسَانٍ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُوْنَ .أَمَّا بَعْدُ فَيَاعِبَادَ اللهِ . أُوْصِيْكُمْ وَنَفْسِيْ أَوَّلاً بِتَقْوَى اللهِ تَعَالَى وَطَاعَتِهِ .  فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرْآنِ اْلكَرِيْمِ :

وَٱتَّقُواْ  فِتۡنَةٗ لَّا  تُصِيبَنَّ ٱلَّذِينَ  ظَلَمُواْ مِنكُمۡ  خَآصَّةٗۖ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ شَدِيدُ  ٱلۡعِقَابِ

ท่านพี่น้องผู้ร่วมศรัทธาที่รักทั้งหลาย

มวลการสรรเสริญทั้งหลายย่อมเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงสร้างมนุษย์มาในรูปร่างที่งดงามยิ่ง และได้ให้ความล้ำเลิศเหนือสิ่งถูกสร้างอื่น ๆ และพระองค์ได้มอบสติปัญญาให้มีความล้ำเลิศเหนือ  ปศุสัตว์ทั้งหลาย เพื่อรู้จักพระผู้เป็นเจ้าของเขาและรู้เท่าทันถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ แน่นอนการใช้ชีวิตในโลก  ดุนยา เราต้องยอมรับว่าย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีทั้งผู้ศรัทธาและผู้ไร้ศรัทธา จึงต้องคิดและแยกแยะว่าเราควรจะเลือกใครในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

وَلاَ تَرْكَنُواْ إِلَى الَّذِينَ ظَلَمُواْ فَتَمَسَّكُمُ النَّارُ وَمَا لَكُم مِّن دُونِ اللَّهِ مِنْ أَوْلِيَاء ثُمَّ لاَ تُنصَرُونَ

ความว่า : และท่านทั้งหลายอย่าได้เอนเอียง (เข้าร่วม) ไปยังบรรดาผู้ซึ่งอธรรม (คนไม่ดี) เพราะจะเป็นเหตุให้ไฟนรกประสบกับท่านทั้งหลาย และท่านทั้งหลายจะไม่พบผู้ให้การช่วยเหลือนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น ต่อจากนั้นท่านทั้งหลายก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลือใด ๆ (ซูเราะฮ์ฮูด 113)

          อย่างไรก็ตาม การใช้ชีวิตในโลกนี้ เราจะต้องใช้สติปัญญาของเราที่จะเลือกคบกับผู้ใดและใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม เพราะการที่เราไม่แยกแยะผู้คนนั้น ซึ่งอาจนำพาไปสู่การสร้างฟิตนะฮ์ (ความวุ่นวาย) ทำให้เกิดความอ่อนแอในสังคม และจะนำพาไปสู่การแตกแยก พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงใช้ให้เราป้องกันและระมัดระวังเรื่องที่ทำให้เกิดฟิตนะฮ์

وَاتَّقُواْ فِتْنَةً لاَّ تُصِيبَنَّ الَّذِينَ ظَلَمُواْ مِنكُمْ خَاصَّةً وَاعْلَمُواْ أَنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ

          ความว่า : และพวกเจ้าจงระวังการลงโทษซึ่งมันจะไม่ประสบแก่บรรดาผู้อธรรมในหมู่พวกเจ้าโดยเฉพาะเท่านั้น และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้น เป็นผู้มีความรุนแรงในการลงโทษ (ซูเราะฮ์อัลอันฟาล 25)

ทั้งนี้ขอเรียนว่า การสร้างฟิตนะฮ์ใดขึ้นมา จะทำให้ผู้คนที่อยู่ร่วมกันนั้นได้รับความเดือดร้อน ความ     วุ่นวายก็จะเกิดขึ้นและจะนำพาไปสู่ความอ่อนแอของสังคม และความการแตกแยกอีกด้วย พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสไว้ว่า

وَأَطِيعُواْ اللَّهَ وَرَسُولَهُ وَلاَ تَنَازَعُواْ فَتَفْشَلُواْ وَتَذْهَبَ رِيحُكُمْ وَاصْبِرُواْ إِنَّ اللَّهَ مَعَ الصَّابِرِينَ

ความว่า : และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺ และเราะซูลของพระองค์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกัน จะทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย (ซูเราะฮ์อัลอันฟาล 46)

พี่น้องที่รักทั้งหลาย

อิสลามเรียกร้องให้เรามีความรักและความสามัคคีในหมู่คณะโดยให้ยึดสายเชือกแห่งอัลลอฮ์ไว้อย่างเหนียวแน่น อย่าสร้างความแตกแยก แต่ในขณะเดียวกัน ศาสนาอิสลามก็สนับสนุนให้ผู้ศรัทธาทั้งหลายมีความพยายามแห่งการอยู่ร่วมกับคนดี ห่างไกลจากคนไม่ดี ท่านเราะซูลลุลลอฮ์ (ซล.) ได้ตรัสเปรียบเทียบไว้ดังนี้

عن أَبي موسى الأَشعَرِيِّ : أَن النَّبِيَّ ﷺ قَالَ: إِنَّما مثَلُ الجلِيس الصَّالِحِ وَجَلِيسِ السُّوءِ: كَحَامِلِ المِسْكِ، وَنَافِخِ الْكِيرِ، فَحامِلُ المِسْكِ إِمَّا أَنْ يُحْذِيَكَ، وَإِمَّا أَنْ تَبْتَاعَ مِنْهُ، وَإِمَّا أَنْ تَجِدَ مِنْهُ ريحًا طيِّبةً، ونَافِخُ الكِيرِ إِمَّا أَن يَحْرِقَ ثِيابَكَ، وإمَّا أَنْ تَجِدَ مِنْهُ رِيحًا مُنْتِنَةً. متفقٌ عَلَيهِ.

          ความว่า : รายงานจากอะบีมูซา อัลอัชชารี แท้จริงท่านเราะซูลลุลลอฮ์ได้ทรงกล่าวว่า : แท้จริงอุปมาผู้นั่งร่วมอยู่กับคนดี และผู้นั่งร่วมกับคนเลว อุปมัยดั่งผู้เป็นเจ้าของ (น้ำหอม) ชะมดเชียง และผู้ที่เผาเหล็ก ผู้เป็นเจ้าของชะมดเชียงนั้น บางทีเขาอาจจะมอบมันให้แก่ท่าน และบางทีท่านอาจจะซื้อจากเขา บางทีท่านอาจจะได้กลิ่นหอมจากชะมดเชียงนั้น และผู้ที่เผาเหล็ก บางทีมันอาจไหม้เสื้อผ้าของท่าน และบางทีท่านอาจจะพบกับกลิ่นเหม็นของมัน (บันทึกโดยอิหม่ามบุคคอรีและมุสลิม)

จากฮะดีษบทนี้ชี้ให้เห็นว่า การอยู่ร่วมกันในสังคม ถ้าพวกเราเลือกที่จะอยู่ร่วมกันกับคนที่มีอีหม่าน    มีคุณธรรม มีการช่วยเหลือกัน ก็เหมือนกับว่า เราเข้าไปอยู่ในร้านเครื่องหอม ถึงแม้ไม่ได้ซื้ออะไร กลิ่นหอมจะติดตัวเราไป การอยู่ร่วมกันในสังคม เราก็ต้องคัดกรองว่าใครที่ทำให้สะอาด ใครที่จะทำให้สกปรก พระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงประทานสติปัญญาให้แก่เรา เราก็ต้องใช้ปัญญานั้นไตร่ตรอง และขอจากพระองค์ให้เราเห็นสิ่งถูกเป็นสิ่งที่ถูกและปฏิบัติตาม และให้เห็นสิ่งผิด เป็นสิ่งที่ผิด และห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดีนั้นอย่างจริงจัง

ยิ่งกว่านั้น การอยู่ร่วมกันทุกคนต้องให้เกียรติและไม่ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน จำเป็นจะต้องรักษาทุกอวัยวะในร่างกายของเราเนื่องจากจะต้องถูกสอบสวน อีกทั้งอวัยวะต่างๆจะมาเป็นพยานให้แก่เราในโลกหน้า พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ตรัสไว้ว่า

يَوْمَ تَشْهَدُ عَلَيْهِمْ أَلْسِنَتُهُمْ وَأَيْدِيهِمْ وَأَرْجُلُهُم بِمَا كَانُوا يَعْمَلُونَ

ความว่า : วัน (กิยามะฮ์) ที่ลิ้นของพวกเขา และมือของพวกเขา และเท้าของพวกเขา จะเป็นพยานยืนยันต่อพวกเขา ตามที่พวกเขาได้กระทำไว้ (ซูเราะฮ์อันนูร 24)

การที่เราให้การสนับสนุนส่งเสริม สิ่งที่ผิดต่อหลักการศาสนา และมีส่วนแพร่หลายสิ่งที่ไม่ดีให้เกิดขึ้นในหมู่มุสลิมและสังคมอื่นๆ เราก็จะถูกลงโทษจากอัลลอฮ์ (ซบ.) พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า

إِنَّ الَّذِينَ يُحِبُّونَ أَن تَشِيعَ الْفَاحِشَةُ فِي الَّذِينَ آمَنُوا لَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ فِي الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ

وَاللَّهُ يَعْلَمُ وَأَنتُمْ لا تَعْلَمُونَ

ความว่า : แท้จริงบรรดาผู้ปรารถนาที่จะให้ความเลวแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวด ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺทรงรอบรู้โดยพวกเจ้าไม่รู้ (ซูเราะฮ์อันนูร 19)

และพระองค์อัลลอฮ์ได้ตรัสไว้อีกว่า

إِنَّ السَّمْعَ وَالْبَصَرَ وَالْفُؤَادَ كُلُّ أُوْلَئِكَ كَانَ عَنْهُ مَسْؤُولاً

ความว่า : แท้จริงหู ตา และหัวใจ ทุกสิ่งเหล่านั้นจะถูกสอบสวน (ซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ 36)

ดังนั้น หูของเรา ถ้าไม่ได้ยินได้ฟังมา ก็อย่าได้อ้างว่า เราได้ยินได้ฟังมา ตาก็เช่นเดียวกัน ไม่เห็นก็อย่าได้บอกว่าเห็น เพราะทั้งหมดจะถูกสอบสวนและจะถูกลงโทษในวันกิยามะฮ์

ท่านพี่น้องที่เคารพ ท่านเราะซูล (ซล.)ได้ให้ความสำคัญของการเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ โดยถือว่า เป็นพี่น้องกัน ยามสุขก็สุขด้วยกัน ยามทุกข์ เจ็บป่วยก็ทุกข์ด้วยกัน

عن النعمان بن بشير قال : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: مَثَلُ المُؤْمِنِينَ في تَوَادِّهِمْ وتَرَاحُمِهِمْ وتَعَاطُفِهِمْ، مَثَلُ الجَسَدِ إذا اشْتَكَى مِنْهُ عُضْوٌ تَدَاعَى له سَائِرُ الجَسَدِ بالسَّهَرِ والحُمَّى {رواه مسلم}

ความว่า : รายงานจากท่านนุอ์มานบุตรท่านบะซีร ได้กล่าวว่า ท่านเราะซูล (ซล.) ได้กล่าวไว้ว่า อุปมาศรัทธาชนทั้งหลาย ความรักผูกพันของพวกเขา ความเมตตา ความสงสาร การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อุปมัยเหมือนเรือนร่างเดียวกัน เมื่ออวัยวะส่วนใดเกิดเจ็บป่วย มันจะเรียกร้องให้ร่างกายทั้งหมดพลอยอดหลับอดนอนและเป็นไข้ตามไปด้วย

ในฮะดีษบทนี้ ชี้ให้เห็นว่า

  • สิทธิหน้าที่ของพี่น้องมุสลิม ถือเป็นความยิ่งใหญ่
  • ส่งเสริมให้มีเมตตาซึ่งกันและกัน
  • ส่งเสริมให้นำมาซึ่งสายสัมพันธ์ และความรัก และสร้างสัมพันธ์บุคคลต่างๆในสังคม
  • ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือ ช่วยค้ำประกัน อุปถัมภ์ระหว่างมุสลิมเพราะถือว่า เป็นประชาชาติเดียวกัน เหมือนร่างเดียวกัน

اللَّهُمَّ أَرِنَا الْحَقَّ حَقًّا وَارْزُقْنَا اتِّبَاعَهُ، وَأَرِنَا البَاطِلَ بَاطِلًا وَارْزُقْنَا اجْتِنَابَهُ

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ  وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ فَاسْتَغْفِرُوْهُ  اِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ

ดาวน์โหลด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top