วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 21:14 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> บทความจากวิทยากร >> การถือศีลอดแห่งเดือนรอมฎอน
การถือศีลอดแห่งเดือนรอมฎอน

การถือศีลอดแห่งเดือนรอมฎอน

การถือศีลอดแห่งเดือนรอมฎอน

อาจารย์อาลี  กองเป็ง

ท่านพี่น้องผู้ร่วมศรัทธาทุกท่าน

          การถือศีลอด ได้ถูกบัญญัติเป็นฟัรดูหน้าที่บังคับนับจากปีที่ 2 ฮิจเราะห์ศักราชอิสลาม ในคืนที่ 2 ของเดือนชะบาน และเป็นمِنَ الدِّيْنِ بِالضَّرُوْرَةِ  مَعْلُوْمٌ กล่าวคือเป็นสิ่งวายิบที่ต้องปฎิบัติของศาสนาโดยปฏิเสธไม่ได้ ในการเป็น วายิบหน้าที่ที่มุสลิมต้องปฏิบัติ และเป็นองค์ประกอบหลักของหลักการอิสลาม ใครปฏิเสธในการเป็นฟัรดูหรือวายิบที่เรียกว่าหน้าที่หลักในเรื่องการถือศีลอดโดยไม่มีอุปสรรค์ عذر การผ่อนผันทางศาสนาถือว่าเขาสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม وَالْعِيَاذُ بِاللهِ พร้อมจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสและรุนแรงยิ่ง พระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า :

     قَالَ اللهُ تَعَالىَ : يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ

ความว่า : “โอ้ผู้ศรัทธาชนทั้งหลาย อัลลอฮ์ (..) ได้ทรงบัญญัติฟัรดูการถือศีลอดเหนือพวกท่านเสมือนได้ทรงบัญญัตินี้เป็นฟัรดูเหนือประชาชาติยุคก่อนพวกท่าน

          การถือศีลอดนั้นมี 2 องค์ประกอบ ( ركن )

1. คือการงดเว้นจากการกิน การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ เริ่มจากแสงอรุณจริงขึ้นจนถึงอาทิตย์ ลับขอบฟ้า อัลเลาะห์ทรงตรัสว่า

وَكُلُوْا وَشْرَبُوْا حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ اْلأَبَيْضُ مِنْ الْخَيْطِ اْلأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ

          ความว่า : ท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่มจนกระทั้งเส้นขาว (แสงสว่างของอรุณ) จะประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นดำ (ความมืดของกลางคืน) เนื่องจากแสงอรุณ

          2. การตั้งเจตนาในการถือศีลอด ท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ศ้อลฯ) ได้กล่าวว่า :

إِنَّمَا اْلأَعْمَالُ بِالنِّيَاتِ

          ความว่า  : “แท้จริงการประกอบอะมัล (อิบาดะห์) ขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา

และจำเป็นในการตั้งเจตนานั้นก่อนแสงอรุณจริงขึ้น จากทุกคืนของบรรดากลางคืนของเดือนรอมฎอน ท่านหญิงฮับเซาะห์ เธอได้กล่าวว่า :

قال رسول الله [ صلهم ] مَنْ لَمْ يُجْمِعِ الصِّيَامَ قَبْلَ الْفَجْرِ فَلاَ صِيَامَ لَهُ  رَوَاهُ أَحْمَدُ وَأَصْحَابُ السُّنَنَ وَصَحَّحَهُ ابْنُ خُزَيْمَةَ وَابْنُ حِبَّان

ความว่า   : “ท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ศ้อลฯ)  กล่าวว่า ใครที่ไม่ได้ตั้งเจตนาถือศีลอดก่อนแสงอรุณขึ้น ก็ไม่ถือว่าเป็นการถือศีลอดสำหรับเขา และถือว่าการตั้งเจตนานั้นใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของเวลากลางคืน

          การตะลัฟฟุส (กล่าวคำนำเหนียต) ไม่ถูกตั้งเงื่อนไขในการเจตนา (เหนียต) ส่วนใหญ่ของนักวิชาการนิติศาสตร์อิสลามได้กล่าวว่า การตั้งเจตนาการถือศีลอดที่เป็นสุนัตใช้ได้ในการตั้งเจตนาในตอนกลางวัน หากแม้นเขาผู้นั้น ยังไม่ได้รับประทานอาหารหรือดื่ม หลังจากการขึ้นของแสงอรุณ ท่านหญิงอาอีชะห์ได้กล่าวว่า

دَخَلَ عَلَيَّ النَّبِيُّ [ صلعم ] ذَاتَ يَوْمٍ فَقَالَ هَلْ عِنْدَكُمْ شَيْئٌ قُلْنَا : لاَ قَالَ : { فَإِنِّيْ صَائِمٌ }   رَواهُ مُسْلِمٌ وَأَبُوْ دَاوُدَ

          ความว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ศ้อลฯ) ได้เข้ามาพบฉันในวันหนึ่ง และท่านนบี ก็กล่าวว่า : พวกท่านมีอาหารบ้างหรือไม่พวกเราก็กล่าวตอบว่า…  ไม่มีเลย ท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ศ้อลฯ) จึงกล่าวว่าแท้จริงฉันเป็นผู้ถือศีลอด

          กลุ่มอะห์นาฟ ได้ตั้งเงื่อนไข้ว่าการตั้งเจตนาถือศีลอดที่เป็นสุนัต ต้องเป็นการตั้งเจตนาก่อนอาทิตย์คล้อย และเป็นที่ล่ำลือจากคำพูดของอิหม่ามชาฟีอีเช่นเดียวกัน ส่วนอิหม่ามอะห์หมัด ถือว่าการตั้งเจตนาการถือศีลอดที่เป็นสุนัต ใช้ได้ก่อนอาทิตย์คล้อยและหลังอาทิตย์คล้อย

          บรรดานักวิชาการมีการลงมติว่า การถือศีลอดนั้น จำเป็นเหนือมุสลิมที่สติปัญญาสมบูรณ์ บรรลุศาสนภาวะ สุขภาพดี และไม่ใช่ผู้เดินทางและจำเป็นแก่หญิงที่ไม่มีรอบเดือนหรือนิฟาส (เลือดหลังจากการคลอดบุตร)

          การถือศีลอดไม่จำเป็นแก่ผู้ที่ปฏิเสธ (กาฟิร), คนวิกลจริต, เด็ก, ผู้ป่วย, ผู้เดินทาง, ผู้ที่ชราภาพ, หญิงมีรอบเดือน, หญิงมีนิฟาส, หญิงตั้งครรภ์, และแม่นม

          คนบางกลุ่มไม่จำเป็นการถือศีลอดตลอดการ เช่น ผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) และคนวิกลจริต และคนบางกลุ่มให้ผู้ปกครองใช้ให้เขาทำการถือศีลอด เช่น เด็ก และบางกลุ่มจำเป็นแก่พวกเขาให้ละศีลอดและก็ชดใช้ และบางกลุ่มผ่อนผันให้พวกเขาละศีลอดและจ่ายฟิดยะห์

          การถือศีลอดเป็นอิบาดะห์อิสลามียะห์ จึงไม่จำเป็นแก่ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมและก็ไม่จำเป็นแก่ผู้ที่วิกลจริต เพราะพวกเขาไม่อยู่ในข่ายมุกัลลัฟ

          ท่านอาลี ร.ด. กล่าวว่า แท้จริงท่านท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ศ้อลฯ) กล่าวว่า

 {رُفِعَ الْقَلَمُ عَنْ ثَلاَثَةٍ : عَنْ الْمُجْنُوْنِ حَتَّى يُفِيْقَ وَعَنِ النَّائِمِ حَتَّى يَسْتَيْقِظَ وَعَنِ الصَّبِيِّ حَتَّى يَحْتَلِمَ }    رواه أحمد وأبو داود والترميذ

          ปากกาถูกยกจาก 3 จำพวก (ไม่ถูกบันทึกการลงโทษ) 1. คนวิกลจริต จนกว่าจะหาย 2. ผู้ที่นอนหลับจนกว่าจะตื่น 3. เด็ก จนกว่าจะบรรลุศาสนภาวะ

          บรรดาเด็กๆ ให้ผู้ปกครองใช้พวกเขาให้ทำการถือศีลอด ตราบใดว่าพวกเขามีความสามารถ เพื่อเป็นการฝึกแก่พวกเขาให้ทำอิบาดะห์ ให้เกิดความเคยชิน

          กรณีของบุคคลที่ศาสนาผ่อนผันให้ละศีลอดและจำเป็นต้องจ่ายฟิดยะห์ (ฟิดยะห์คือ การให้อาหารหนักแก่ผู้ยากจนอนาถาเท่ากับจำนวนวันที่เขาไม่ได้ถือศีลอด เป็นอาหารหนักประมาณ 1 มุด หรือ 1 ลิตร)

1. ชายหรือหญิงที่ชราภาพ      

2. ผู้ป่วยซึ่งถูกวินิจฉัยแล้วว่า อาการป่วยของเขา ไม่มีความหวังจะหายเป็นปกติ      

3. ผู้ที่ทำงานหนัก ซึ่งพิจารณาดูแล้วว่าเขาไม่สามารถยังชีพได้ เว้นแต่ด้วยการทำงานของเขา

          ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า  ได้รับผ่อนผันให้แก่ผู้ที่ชราภาพให้ละศีลอด และจ่ายอาหารหนักแก่คนมิสกีน 1 มุด และไม่จำเป็นต้องชดใช้การถือศีลอด

          ในกรณีหญิงตั้งครรภ์และแม่นม ถ้าแม้นเธอทั้งสองกลัวจะเกิดอันตราย เหนือตัวของเธอทั้งสอง หรือลูกของเธอทั้งสองก็ให้เธอทั้งสองละศีลอดพร้อมกับจ่ายฟิดยะห์ และการถือศีลอดไม่จำเป็นต้องชดใช้ตามทัศนะของอิบนุอุมัร และอิบนุอับบาส

          ท่านอบูดาวูด ได้รายงานจากท่านอิกริมะห์ว่า แท้จริงท่านอิบนุอับบาส กล่าวในความหมายอายะห์

{ وَعَلَى الَّذِيْنَ يُطِيْقُوْنَهُ }

เป็นอายะห์ที่ชี้ถึงการผ่อนผันแก่ชายและหญิงที่ชราภาพ กล่าวคือเขาทั้ง 2 ไม่สามารถถือศีลอดได้ ดังนั้น จึงให้เขาทั้งสองละศีลอดและจ่ายฟิดยะห์

          หญิงตั้งครรภ์ และแม่นม เมื่อทั้งสองกลัวเกิดอันตรายที่มีผลกระทบต่อลูกของเธอทั้งสองให้เธอทั้งสองละศีลอดและจ่ายฟิดยะห์ บันทึกโดยท่าน บัซซาร {البزار} และปรากฏท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวให้แก่แม่ของเด็ก ซึ่งขณะนั้น นางตั้งครรภ์  เธออยู่ในตำแหน่งเดียวกับผู้ที่ไม่มีความสามารถ ก็ให้เธอจ่ายฟิดยะห์และเธอไม่จำเป็นต้องถือศีลอดใช้แต่ประการใดไม่จำเป็นต้องชดใช้เหนือเธอ

          มีรายงานจากท่านนาเฟียะอฺว่า  “ท่านอิบนุอุมัร ถูกถามถึงกรณีหญิงตั้งครรภ์ เมื่อเธอกลัวเกิดอันตรายต่อลูกของเธอ อิบนุอุมัร ตอบว่าให้เธอละศีลอด และจ่ายฟิดยะห์แทน แก่ผู้ยากจนอนาถาทุกวัน จากข้าวสาลี บันทึกโดย ท่านมาลิก และท่านบัยฮกีย์

          ส่วนทัศนะของท่านอะห์นาฟ อบีเซาริน ให้เธอทั้งสองชดใช้การถือศีลอดเท่านั้น และไม่ต้องจ่ายฟิดยะห์ และทัศนะของท่านอะห์หมัด และท่านชาฟีอี กล่าวว่า “ถ้าแม้นเธอทั้งสองกลัวเกิดอันตรายต่อบุตร ให้เธอทั้งสองละศีลอด พร้อมกับชดใช้การถือศีลอด และจ่ายฟิดยะห์”

          ในกรณีที่เธอทั้งสองกลัวเกิดอันตรายแก่ตนเองหรือตัวเธอทั้งสองและลูก ก็ให้เธอทั้งสองทำการชดใช้การถือศีลอดที่ขาดไป โดยไม่ต้องจ่ายฟิดยะห์

          บุคคลที่ศาสนาผ่อนผันให้พวกเขาละศีลอด และจำเป็นต้องชดใช้การถือศีลอด เท่ากับจำนวนที่เขาไม่ได้ถือศีลอด

1. ผู้ป่วยซึ่งอาการป่วยของเขาหวังจะหายเป็นปกติ

2. คนเดินทาง

อัลเลาะห์ทรงตรัสว่า

{ وَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيْضًا اَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ }

ความว่า  และบุคคลใดในหมู่พวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็ให้ถือศีลอดใช้ในวันอื่น” และมีรายงานจาก อนัส บุตร มาลิก กล่าวว่า :

     كُنَّا نُسَافِرُ مَعَ رَسُوْلِ اللهِ صلى الله عليه وسلم فَمِنَّا الصَّائِمُ وَمِنَّا الْمُفْطِرُ فَلَمْ يَعِبِ الصَّائِمُ عَلَى الْمُفْطِرِ وَلَمْ يَعِبِ الْمُفْطِرُ عَلَى الصَّائِمِ

          ความว่า  ขณะที่พวกเราเดินทางร่วมกับท่าน ร่อซูล (..) ส่วนหนึ่งจากพวกเราทำการถือศีลอด และมีอีกส่วนหนึ่งไม่ได้ถือศีลอด ไม่มีผู้ใดที่ถือศีลอดตำหนิผู้ไม่ถือศีลอด และไม่มีผู้ใดที่ละศีลอดตำหนิผู้ถือศีลอด

          อะหมัด อบูดาวูด บัยฮกีย์ ได้บันทึกหะดีษ รายงานโดยท่าน มุฮาซ กล่าวว่า  แท้จริง อัลลอฮ์ (..) เจ้า ทรงลงบทบัญญัติ เป็นฟัรดูเหนือท่านนบี ในการถือศีลอด อัลลอฮ์ (..) จึงประทานกรุอ่านลงมาว่า

{ يَأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتُبِ عَلَيْكُمْ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ } จนถึงอายะห์ที่ว่า{ وَعَلَى الَّذِيْنَ يُطِيْقُوْنَهُ فِديَةٌ طَعَامُ مِسْكِيْنَ }

ปรากฏว่าผู้ใดปรารถนาถือศีลอดก็ให้ถือศีลอด และผู้ใดปรารถนาจ่ายอาหารก็ให้จ่ายอาหาร ต่อมาอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงประทานอายะห์กรุอ่าน

{ شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِيْ أُنْزِلَ فِيْهِ القُرْآن..}จนถึงอายะห์ที่ว่า   { …فَمَنْ شَهِدَمِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ } 

จึงปรากฏชัดว่าการถือศีลอดจำเป็นแก่ผู้ที่ไม่ได้เดินทาง ที่สุขภาพดี และผ่อนผันให้แก่ผู้ที่ป่วยและผู้ที่เดินทาง และเป็นการยืนยันว่า ผู้ที่ชราภาพไม่สามารถถือศีลอดได้นั้น ให้จ่ายอาหารที่เรียกว่า ฟิดยะห์แก่คนมิสกีน

ได้กล่าวในหนังสือมุฆนีว่า (ถูกเล่ากล่าวจากบางส่วนของชนซะลัฟว่า แท้จริงเป็นการผ่อนผันแก่ทุกคนที่มีอาการป่วยเพราะความหมายคลุมของอายะห์นี้และเนื่องจากผู้เดินทางอนุญาตแก่เขาให้ละศีลอดผู้ป่วยก็เช่นเดียวกัน) คือทัศนะของท่านบุคอรี ท่านอะฏออฺ และอะห์ลุซซอเฮร

และที่ซอเหี้ยะห์ ผู้ป่วยที่กลัวเกิดอันตรายเนื่องจากการถือศีลอด และคนที่กระหายจัดหรือหิวจัดที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ก็ให้เขาละศีลอด ถึงแม้นปรากฏว่าเขาเป็นผู้ที่สุขภาพดีและไม่ได้เดินทางและจำเป็นต้องชดใช้การถือศีลอด เท่าจำนวนที่เขาไม่ได้ถือศีลอด

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

{ وَلاَ تَقْتُلُوْا أَنْفُسَكُمْ إِنَّ اللهَ كَانَ بِكُمْ رَحِيْمًا }

          ความว่า : ท่านทั้งหลายอย่าได้ฆ่าตัวของพวกท่าน แท้จริงอัลเลาะห์ปรากฏต่อพวกท่านแล้วเป็นผู้เมตตานี่มิใช่หรือ? คือความเมตตาของอัลลอฮ์ (..) ที่มีต่อบ่าวของพระองค์

และอัลเลาะห์ทรงตรัสว่า

{ وَمَا جَعَلَ عَلَيْكُمْ فِي الدِّيْنِ مَنْ حَرَجٍ }

ความว่า : ไม่มีความลำบากเหนือพวกท่านในเรื่องศาสนา 

      أَقُوْلُ قَوْلِىْ هَذَا وَاَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِىْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ وَالْمُسْلِمَاتِ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَالْغَفُوْرُالرَّحِيْمُ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top