วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567 9:35 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> เดือนแห่งบะร่อกัต
เดือนแห่งบะร่อกัต

เดือนแห่งบะร่อกัต

เดือนแห่งบะร่อกัต

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ فَرَضَ رَمَضَانَ عَلَى أُمَّةِ خَيْرِ الْبَرِيَّةِ ، كَمَا فَرَضَ الصِّيَامَ عَلَى جَمِيْعِ اْلأُمَمِ الْمَاضِيَةِ فِي الشَّرَائِعِ السَّمَاوِيَّةِ ، وَأَنْزَلَ فِيْهِ الْقُرْآنَ هُدًى لِلنَّاسِ وَرَحْمَةً لِّلأُمَّةِ اْلإِسْلاَمِيَّةِ ، وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ أَجْزَلَ الْخَيْرَ لِلطَّائِعِيْنَ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَناَ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ أَفْضَلُ الصَّائِمِيْنَ وَإِمَامُ الْمُخْلِصِيْنَ ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا وَحَبِيْبِنَا وَشَفِيْعِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الطَّيِّبِيْنَ الطَّاهِرِيْنَ ، وَبَعْدُ  فَيَاعِبَادَ اللهِ ، إِتَّقُوا اللهَ وَأَطِيْعُوْهُ فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرآنِ الْمَجِيْدِ : يَاأَيُّهاَ الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ .

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

ท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ ได้กล่าวไว้ในบันทึกของท่านบัยฮะกีย์ ท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ และท่านอิบนุ ฮิบบาน จากท่านซั้ลมาน อั้ลฟาริซีย์ ว่า

خَطَبَنَا رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم فِيْ آخِرِ يَوْمٍ مِنْ شَعْبَانِ

ความว่า “ท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ ได้คุตบะฮ์ (ธรรมเทศนา) แก่พวกเราในวันสุดท้ายของเดือนชะบาน”

فَقَالَ : يَا أَيُّهَا النَّاسُ قَدْ أَظَلَّكُمْ شَهْرٌ عَظِيْمٌ مُبَارَكٌ

ความว่า “โดยท่านกล่าวว่า โอ้ประชาชนทั้งหลายเดือนอันยิ่งใหญ่ซึ่งมีสิริมงคลได้มาปรกคลุมพวกท่านแล้ว”

شَهْرٌ فِيْهِ لَيْلَةٌ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ    มันคือเดือนซึ่งมีคืนหนึ่งดีกว่าพันเดือน

   شَهْرٌ جَعَلَ اللهُ صِيَامَهُ فَرِيْضَةً وَقِيَامَ لَيْلَةٍ تَطَوُّعًاมันคือเดือนที่อัลลอฮ์   ตะอาลา ได้ทรงบัญญัติการถือศีลอดเป็นฟัรดู และการละหมาดในยามค่ำคืนที่เป็นความสมัครใจ

مَنْ تَقَرَّبَ فِيْهِ بِخِصْلَةٍ مِنَ الْخَيْرِ كَانَ كَمَنْ أَدَّى فَرِيْضَةً فِيْمَا سِوَاهُ

ความว่า “ใครที่เขาได้ปฏิบัติเพื่อความใกล้ชิดเพียงหนึ่งประการจากความดีในเดือนนี้ (ซึ่งเป็นสุนัต) เท่ากับเขาทำสิ่งทีเป็นฟัรดูในเดือนอื่นๆ”

وَمَنْ أَدَّى فِيْهِ فَرِيْضَةً كَانَ كَمَنْ أَدَّى سَبْعِيْنَ فَرِيْضَةً فِيْمَا سِوَاهُ

ความว่า “และผู้ใดได้ปฏิบัติของฟัรดูในเดือนนี้ เขาได้ผลบุญเท่ากับทำ  ฟัรดูถึงเจ็ดสิบครั้งในเดือนอื่นๆ”

   وَهُوَ شَهْرُ الصَّبْرِมันคือเดือนแห่งการอดทน

   وَالصَّبْرُ ثَوَابُهُ الْجَنَّةُความอดทนผลตอบแทนคือสวรรค์

    وَشَهْرُ الْمُوَاسَاةِคือเดือนแห่งความเสมอภาค

    وَشَهْرٌ يُزَادُ فِيْ رِزْقِ الْمُؤْمِنِ فِيْهِคือเดือนซึ่งมีริสกีย์ที่เพิ่มพูนแก่มุมิน

  مَنْ فَطَّرَ فِيْهِ صَائِمًا كَانَ مَغْفِرَةً لِذُنُوْبِهِ وَعِتْقِ رَقَبَتِهِ مِنَ النَّارِผู้ใดให้อาหาร      ละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอดในเดือนนี้ เขาจะได้รับการอภัยโทษต่างๆ ของเขา และปลดพันธนาการจากนรก

   وَ كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أَجْرِهِ شَيْءٌและจะได้ซึ่งผลบุญเหมือนผู้ถือศีลอดโดยไม่ลดหลั่นกันเลย

مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا مِنْ كَسْبٍ حَلاَلٍ صَلَّتْ عَلَيْهِ الْمَلاَئِكَةُ لَيَالِىْ رَمَضَانَ  

ผู้ใดให้อาหารแก่ผู้ละศีลอดซึ่งได้มาจากอสิ่งที่หะล้าล มวลเหล่ามะลาอิกะฮ์ได้ทำการขอดุอาอ์ให้แก่เขาตลอดเดือนรอมฎอน

وَصَافَحَهُ جِبْرِيْلُ لَيْلَةَ الْقَدْرِ  ยิบรออี้ลจะมามุซอฟะหะฮ์กับเขาในคืนก็อดัร

   وَمَنْ صَافَحَهُ جِبْرِيْلُ يَرِقُّ قَلْبُهُ وَيَكْثُرُ دُمُوْعُهُและผู้ใดที่ยิบรี้ลมามุซอฟะหะฮ์ (ยาบะ) หัวใจของเขาจะอ่อนละมุน น้ำตาจะหลั่งไหลออกมาอย่างมากมาย                                                                 قاَلَ سَلْمَانُ : فَقُلْتُ يَا رَسُوْلَ اللهِ أَفَرَأَيْتَ مَنْ لَمْ يَكُنْ عِنْدَهُ   ท่านซั้ลมาน กล่าวว่า ฉันจึงเอ่ยถามท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ   ว่าท่านเห็นเป็นอย่างไรสำหรับผู้ที่ไม่มีความสามารถให้อาหารแก่ผู้ละศีลอดได้

فَقَالَ رَسُوْلُ اللهِ : يُعْطِي اللهُ هَذَا الثَّوَابَ مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا عَلَى تَمْرَةٍ أَوْ شَرْبَةِ مَاءٍ أَوْ مَذْقَةِ لَبَنٍ

ความว่า “ ท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ จึงได้กล่าวตอบว่า อัลลอฮ์ ตะอาลา จะทรงประทานผลบุญนี้แก่ผู้ให้อาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด แม้เท่ากับอินทผลัมหนึ่งผล หรือน้ำหนึ่งอึกหรือนมที่ผสมน้ำก็ตาม

وَهُوَ شَهْرُ أَوَّلُهُ رَحْمَةٌ وَ أَوْسَطُهُ مَغْفِرَةٌ وَآخِرُهُ عِتْقٌ مِنَ النَّارِ

คือเดือนซึ่งช่วงแรกเป็นเราะห์มัต และช่วงกลางเดือนเป็นมัฆฟิเราะฮ์ และช่วงท้ายเดือนเป็นการปลดปล่อยจากนรก

  وَمَنْ خَفَّفَ عَنْ مَمْلُوْكِهِ فِيْهِ غَفَرَاللهُ لَهُ وَأَعْتَقَهُ مِنَ النَّارِผู้ใดได้ผ่อนปรนแก่ทาสหรือลูกน้องหรือคนงานของเขาในเดือนนี้ อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงให้อภัยโทษและปลดปล่อยเขาจากนรก

فَاسْتَكْثِرُوْا فِيْهِ مِنْ أَرْبَعِ خِصَالٍ  ดังนั้นท่านทั้งหลายจงทำให้มากเถิดจากสี่ประการ

خِصْلَتَيْنِ تَرْضَوْنَ بِهِمَا رَبُّكُمْ  สองประการ ท่านทั้งหลายจะได้มาซึ่งความพึงพอพระทัยแห่งพระเจ้าของพวกท่าน

وَخِصْلَتَيْنِ لاَ غِنَاءَ بِكُمْ عَنْهُمَا  และอีกสองประการ ไม่ถือว่าเป็นการพอเพียงต่อพวกเจ้า ในการละทิ้งมันไป 

فَأَمَّا الْخِصْلَتَانِ الْلَتَانِ تَرْضَوْ بِهِمَا رَبُّكُمْ  ส่วนสองประการที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงพอพระทัย

  فَشَهَادَةُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَتَسْتَغْفِرُوْنَهُคือการปฏิญานตนว่าไม่มีเจ้าอื่นใดที่ถูกกราบไหว้โดยเที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮ์ ตะอาลา และแสวงหาการอภัยจากพระองค์

  وَأَمَّا الْخِصْلَتَان اللَّتَانِ لَاغِنَاءَ بِكُمْ عَنْهُمَاส่วนอีกสองประการซึ่งไม่พอเพียงแก่พวกเจ้าในการละทิ้งมัน

فَتَسْأَلُوْنَ اللهَ الْجَنَّةَ وَ تَعَوَّذُوْنَ بِهِ مِنَ النَّارِ … الحديث

คือท่านทั้งหลายขอสวรรค์ และขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ตะอาลาให้พ้นจากนรก

ท่านพี่น้องครับนี้คือคำสอนที่เป็นการชี้แนะจากท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ ไม่มีคำใดที่จะเหนือไปกว่านี้แล้ว นอกจากกะลามุ้ลลอฮ์ มันคือธรรมนูนของการถือศีลอด ความประเสริฐของการซ่อดาเกาะฮ์ และการทำสุนัตในยามค่ำคืน เป็นการขีดเส้นตรงแก่ผู้ปรารถนาที่จะใกล้ชิดพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ โปรดรับการเชิญชวนนี้ด้วยเทอญ

 

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ ،  وَلِسَائِر الْمُسْلِمِيْنَ فَاسْتَغْفِرُوْهُ  إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top