วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567 15:13 น.
ประชาสัมพันธ์
Home >> บทความศาสนา >> คุตบะห์ >> สิบคืนสุดท้ายของรอมฎอน
สิบคืนสุดท้ายของรอมฎอน

สิบคืนสุดท้ายของรอมฎอน

สิบคืนสุดท้ายของรอมฎอน

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِيْ فَرَضَ رَمَضَانَ عَلَى أُمَّةِ خَيْرِ الْبَرِيَّةِ ، كَمَا فَرَضَ الصِّيَامَ عَلَى جَمِيْعِ اْلأُمَمِ الْمَاضِيَةِ فِي الشَّرَائِعِ السَّمَاوِيَّةِ ، وَأَنْزَلَ فِيْهِ الْقُرْآنَ هُدًى لِلنَّاسِ وَرَحْمَةً لِّلأُمَّةِ اْلإِسْلاَمِيَّةِ ، وَأَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ أَجْزَلَ الْخَيْرَ لِلطَّائِعِيْنَ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَناَ مُحَمَّدًا رَسُوْلُ اللهِ أَفْضَلُ الصَّائِمِيْنَ وَإِمَامُ الْمُخْلِصِيْنَ ، اَللَّهُمَّ صَلِّ وَسَلِّمْ عَلَى سَيِّدِنَا وَحَبِيْبِنَا وَشَفِيْعِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ الطَّيِّبِيْنَ الطَّاهِرِيْنَ ، وَبَعْدُ فَيَا عِبَادَ اللهِ ، إِتَّقُوا اللهَ وَأَطِيْعُوْهُ فَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى فِي الْقُرآنِ الْمَجِيْدِ : يَاأَيُّهاَ الَّذِيْنَ آمَنُوْا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ .

ท่านพี่น้องร่วมศรัทธาที่รัก

เนื่องจากรอมฏอน คือ เดือนที่ความดีทวีคูณกว่าเดือนอื่นๆ เดือนแห่งการแสดงออกถึงคุณธรรมความดี และส่วนหนึ่งจากความดีทั้งหลายคือ

1.   اَلصَّدَقَة      ดังที่ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

أَفْضَلُ الصَّدَقَةِ فِيْ رَمَضَانَ . رواه الترمذي

ความว่า “การบริจาคที่ประเสริฐที่สุด คือในเดือนรอมฎอน”

และยังได้มาซึ่งรับการอภัยจากเหล่ามาลาอีกะห์ห์อีกด้วยท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا عَلَى طَعَامٍ أَوْ شَرَابٍ مِنْ حَلاَلٍ صَلَّتْ عَلَيْهِ الْمَلاَئِكَةُ فِيْ سَاعَاتِ شَهْرِ رَمَضَانَ وَصَلَّى عَلَيْهِ جِبْرِيْلُ لَيْلَةَ الْقَدْرِ . رواه الطبراني

ความว่า “ผู้ใดให้อาหารหรือเครื่องดื่มที่มาจากของฮะลาลแก่ผู้ถือศีลอด และอิสติฆฟารในห้วงเวลาต่างๆของเดือนรอมฎอน และยิบรออิ้ลได้ทำการขอ    ดุอาอ์ และอิสติฆฟารแก่เขาในยามค่ำคืนอัลก๊อดร”

2.  قِيَامُ الْلَيْلِ คือการละหมาดสุนัตในยามค่ำคืน เช่นการละหมาด          ตะรอเวียะห์ ละหมาดตะฮัจญุต ละหมาดวิตรีและอื่นๆ ดังที่ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَاباً غُفِرَلَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ .  متفق عليه

          ความว่า “ผู้ใดที่ได้ทำกียามุลลัยน ในเดือนรอมฎอนโดยศรัทธามั่น และหวังจะได้รับการตอบแทน ความผิดที่เขาได้กระทำไว้ที่ผ่านมาจะถูกลบล้างให้แก่เขา”

และได้ประจักษ์แล้วว่า ท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ ได้ทำให้ 10 คืนสุดท้ายอบอวลไปด้วยกิยามุลลัยน และท่านยังปลุกครอบครัว และเครือญาติทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความสามารถอีกด้วย

3.تِلاَوَةُ الْقُرْآنِ    การอ่านกุรอ่าน  ท่านนบี ศ้อลฯ อ่านกุรอ่านมากมายในเดือนรอมฎอน และยิบรออิ้ลได้มาทบทวนกรุอ่านให้แก่ท่านนบี ศ้อลฯ ในเดือนรอมฎอนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นท่านนบี ศ้อลฯ อ่านกุรอ่านในขณะที่ละหมาด กิยามุ้ลลัยน มากกว่าปกติ ท่านหุซัยฟะฮ์ ได้เคยละหมาดกิยามุ้ลลัยน กับท่านร่อซู้ล ศ้อลฯในคืนหนึ่ง ท่านนบีอ่านซูเราะฮ์บะก่อเราะฮ์  ตามด้วยซูเราะห์อาลิอิมรอน และซูเราะห์อันนิซาอ์ เมื่อถึงอายะหฮ์ที่บอกถึงความหวาดกลัวของการลงโทษ ท่านจะหยุดและขอดุอาอ์ ท่านละหมาดยังไม่ได้ถึงสองร่อกอัต ท่านบิล้าลได้มาเพื่อทำการอะซานซุบฮ์    ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

اَلصِّيَامُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعَانِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ يَقُوْلُ الصِّيَامُ :  أَيْ رَبِّ مَنَعْتُهُ الطَّعَامَ وَالشَّهْوَةَ بِالنَّهَارِ فَشَفِّعْنِيْ فِيْهِ  وَيَقُوْلُ الْقُرْآنُ : مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِالْلَيْلِ فَشَفِّعْنِيْ فِيْهِ قَالَ :  فَيَشْفَعاَنِ . رواه أحمد

ความว่า “การถือศีลอดและอัลกุรอ่านจะขอบรรเทาโทษ(ซะฟาอะฮ์)แก่ผู้เป็นบ่าวในวันกิยามะฮ์   การถือศีลอดจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ ตะอาลา ฉันได้ยับยั้งเขามิให้เขารับประทานอาหาร และปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา ดังนั้นขอพระองค์โปรดได้ให้ฉันขอบรรเทาโทษ(ซะฟาอะฮ์)ให้แก่เขาด้วยเถิด และอัลกุรอ่านกล่าวว่า  ฉันได้ยับยั้งเขาไม่ให้นอนหลับในยามค่ำคืน(เพื่อให้เขาทำกิยามุ้ลลัยล์) ดังนั้นได้โปรดให้ฉันขอบรรเทาโทษให้เขาด้วยเถิด พระองค์อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า  ทั้งสองก็ได้รับอนุญาตให้ช่วยขอบรรเทาโทษ”

4. اَلْإِعْتِكَافُ  คือการอยู่ในมัสยิดเพื่อเป็นอิบาดะฮ์ และได้ประกอบอิบาดะฮ์ด้วย และเพื่อเป็นการตะก็อรรุบ (ทำความใกล้ชิดยังพระเจ้า) ท่านนบี ศ้อลฯ คงทำเอี๊ยะอ์ติกาฟในสิบวันสุดท้ายของรอมฎอน จนกระทั้งท่านจากไปสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์ ตะอาลา และดังหลักฐานซึ่งเป็นหะดีษมัรฟัวอ์ จากท่านอะบีดัรดาอ์ได้รายงานว่าท่านร่อซู้ล ศ้อลฯ ท่านได้กล่าวว่า

اَلْمَسْجِدُ بَيْتُ كُلِّ تَقِيِّ وَتَكَفَّلَ اللهُ لِمَنْ كَانَ الْمَسْجِدُ بَيْتَهُ بِالرَّوْحِ وَالرَّحْمَةِ وَالْجَوَازِ عَلَى الصِّرَاطِ إِلَى رِضْوَانِ اللهِ إِلَى الْجَنَّةِ .

ความว่า “มัสยิดคือบ้านพักสำหรับทุกคนที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา พระองค์ทรงรับประกันให้แก่ผู้ที่ทำมัสยิดให้เป็นที่พำนัก โดยให้ความสุขสบายให้ความเมตตา และให้ผ่านสะพานศิร็อตสู่ความยินดีและสู่สวรรค์ของพระองค์”

5.اَلْإِعْتِمَارُ    ทำอุร์ คือ การซิยาเราะฮ์ (เยี่ยมเยือน) บัยติ้ลลาฮิ้ลหะรอม ด้วยการตอวาฟ และเดินซะแอ    ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า

عُمْرَةٌ فِيْ رَمَضَانَ تَعْدِلُ حَجَّةً مَعِيْ . رواه أبوداود والترمذي وأحمد وابن ماجه

ความว่า “การประกอบพิธีอุมเราะฮ์ ในเดือนรอมฎอน เทียบเท่ากับการประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกับฉัน”

ท่านพี่น้องครับ โปรดอย่าได้ละเลยในการทำความดีที่มีภาคผลอันมากมาย เท่าที่มีความสามารถ จะเลือกทำก็ได้ แต่ให้การกระทำของเราเป็นการทำที่มีความบริสุทธิ์ใจ(อิคลาศ) ตั้งใจให้ดีมีความหวังให้มาก และจงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ ตะอาลา

أَقُوْلُ قَوْلِيْ هَذَا وَأَسْتَغْفِرُ اللهَ الْعَظِيْمَ لِيْ وَلَكُمْ ، وَلِسَائِر الْمُسْلِمِيْنَ فَاسْتَغْفِرُوْهُ  إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ .

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*

กรุณาเติมคำตอบในช่องว่างก่อนเข้าระบบ *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll To Top